ความต้องการน้ำมัน (อุปสงค์) ของ จุดผลิตน้ำมันสูงสุด

ประเทศที่ใช้น้ำมันมากที่สุด ปี ค.ศ. 1960-2008

การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอุปสงค์ เป็นการศึกษาปริมาณน้ำมัน ที่ตลาดโลกจะเลือกใช้สอยตามราคาตลาดและความเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาของเส้นอุปสงค์นั้นปริมาณความต้องการน้ำมัน เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1.76% ต่อปีระหว่างปี ค.ศ. 1994-2006 โดยมีอัตราสูงที่ 3.4% ระหว่างปี ค.ศ. 2003-2004แต่หลังจากที่ถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 2007 ที่ 10,206 ล้านลิตร (85.6 ล้านบาร์เรล) ต่อวันการบริโภคน้ำมันโลก ลดลงทั้งในปี ค.ศ. 2008 และ 2009 โดยประมาณ 1.8% แม้ว่าราคาจะตกลงในปี ค.ศ. 2008[16]แม้ว่าจะมีการพักรบเช่นนี้ แต่ก็มีการพยากรณ์ว่า ความต้องการน้ำมันของโลกจะเพิ่มขึ้น 21% ของระดับที่ใช้ในปี ค.ศ. 2007 โดยปี ค.ศ. 2030 คือจาก 10,255 ล้านลิตรต่อวัน ไปเป็น 12,401 ล้านลิตรต่อวัน โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 0.8% ต่อปีโดยเฉลี่ย เพราะความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการขนส่ง[17][18][19]แต่ตามการคาดการณ์ของทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency ตัวย่อ IEA) ในปี ค.ศ. 2013 ความสามารถการผลิตที่เพิ่มขึ้น จะมากเกินกว่าความต้องการที่เพิ่มขึ้นใน 5 ปีต่อไปอย่างสำคัญ[20][21]

โลกเพิ่มการบริโภคน้ำมันจาก 7,512 ล้านลิตรต่อวัน ในปี ค.ศ. 1980 ไปเป็น 10,135 ล้านลิตรต่อวัน ในปี ค.ศ. 2006

ความต้องการทางพลังงาน แจกได้ตามผู้บริโภคใหญ่ ๆ 4 พวกคือ การขนส่ง ที่พักอาศัย ธุรกิจ และอุตสาหกรรม[22][23] ตามจำนวนการใช้สอย การขนส่งเป็นผู้บริโภคใหญ่ที่สุด และมีการเพิ่มความต้องการมากที่สุด ในทศวรรษที่ผ่าน ๆ มาโดยมากมาจากการใช้ยานพาหนะส่วนตัวที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน[24] เป็นผู้บริโภคน้ำมันในอัตราส่วนถึง 68.9% ในปี ค.ศ. 2006 ในประเทศสหรัฐอเมริกา[25] และถึง 55% ในปี ค.ศ. 2005 ทั่วโลก ดังที่รายงานใน Hirsch report ซึ่งเป็นงานศึกษาทำโดยกระทรวงพลังงาน (สหรัฐอเมริกา)ดังนั้น การขนส่งจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ สำหรับบุคคลที่สนใจเรื่องการบรรเทาผล ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการถึงจุดผลิตน้ำมันสูงสุด

การผลิตปิโตรเลียมในสหรัฐอเมริกาถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 1970 และในปี ค.ศ. 2005 มีการนำเข้าเป็นปริมาณสองเท่าของการผลิต

แม้ว่าความต้องการจะเพิ่มขึ้นสูงสุดในประเทศกำลังพัฒนา[26] แต่สหรัฐอเมริกา ก็ยังเป็นประเทศบริโภคน้ำมันอันดับหนึ่งของโลกในระหว่างปี ค.ศ. 1995-2005 ปริมาณการบริโภคเพิ่มขึ้นจาก 2,110 ล้านลิตรต่อวัน ไปเป็น 2,468 ล้านลิตรต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 358 ล้านลิตรต่อวัน โดยเปรียบเทียบกับประเทศจีนคือ มีปริมาณการบริโภคเพิ่มขึ้นจาก 405 ล้านลิตรต่อวัน ไปเป็น 835 ล้านลิตรต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 430 ล้านลิตรต่อวัน[27] องค์การบริหารข้อมูลพลังงาน (Energy Information Administration ตัวย่อ EIA) ของสหรัฐอเมริกากล่าวว่า จุดบริโภคสูงสุดของสหรัฐอาจจะอยู่ที่ปี ค.ศ. 2007 ส่วนหนึ่งเพราะทั้งการเพิ่มความสนใจ ทั้งมีอาณัตเพื่อให้ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ และให้ปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน[28][29]

เมื่อเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ พัฒนาขึ้น ทั้งระบบอุตสาหกรรมและระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งสองล้วนเพิ่มการใช้พลังงาน ซึ่งโดยส่วนมากก็คือน้ำมันดังนั้น ประเทศที่มีเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่นประเทศจีน และอินเดีย ก็กำลังกลายมาเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่อย่างรวดเร็ว[30] การบริโภคน้ำมันของจีนได้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 8 ต่อปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 เพิ่มขึ้นสองเท่าจากปี 1996 ถึงปี 2006[26] ในปี ค.ศ. 2008 การขายรถในประเทศจีนคาดว่า จะเพิ่มขึ้นถึง 15-20% ส่วนหนึ่งเพราะอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจที่ 10% เป็นเวลา 5 ปีต่อ ๆ กัน[31]

แม้ว่าจะมีการพยากรณ์ถึงการเจริญเติบโตของจีนที่รวดเร็วอย่างนี้ว่า จะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้อื่นก็พยากรณ์เศรษฐกิจ ที่เกิดจากการส่งออกเป็นส่วนใหญ่เช่นนี้ว่า จะไม่สามารถดำรงความโน้มเอียงในการเจริญเติบโตอย่างนี้ได้เพราะว่า ทั้งค่าจ้างที่สูงขึ้น ทั้งราคาผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น จะลดระดับความต้องการสินค้าจากสหรัฐอเมริกา[32] ส่วนการนำเข้าน้ำมันของอินเดียคาดว่า จะขยายขึ้นเป็น 3 เท่าโดยปี ค.ศ. 2020 จากระดับที่ปี ค.ศ. 2005 โดยเพิ่มขึ้นเป็น 596 ล้านลิตรต่อวัน[33]

จำนวนประชากร

ประวัติจำนวนประชากรของโลก

ปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งต่อความต้องการน้ำมันก็คือ การเติบโตของจำนวนประชาการเห็นได้จาก ปริมาณผลิตน้ำมันต่อประชากรที่ถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 1979[34] สำนักงานสำมะโนแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Census Bureau) พยากรณ์ว่า จำนวนประชากรโลกในปี ค.ศ. 2030 จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของปี 1980[35]

ปริมาณผลิตน้ำมันต่อประชากรลดลงจาก 627 ลิตรต่อปี ในปี ค.ศ. 1980 ไปเป็น 529 ลิตรต่อปี ในปี ค.ศ. 1993[35][36] แต่หลังจากนั้นก็เพิ่มไปอยู่ที่ 571 ลิตรต่อปี ในปี ค.ศ. 2005[35][36] ในปี ค.ศ. 2006 การผลิตน้ำมันของโลกลดลงจาก 10,091 ล้านลิตรต่อวัน ไปเป็น 10,087 ล้านลิตรต่อวัน แม้ว่าจำนวนประชากรจะเพิ่มขึ้นดังนั้น ปริมาณผลิตน้ำมันต่อประชากรจึงลดลงอีกเป็น 564 ลิตรต่อปี[35][36]

ปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดอิทธิพลต่อการเพิ่มความต้องการก็คือ การลดอัตราเพิ่มจำนวนประชากร เริ่มตั้งแต่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970คือ ในปี ค.ศ. 1970 อัตราเพิ่มจำนวนประชากรอยู่ที่ 2.1% แต่โดยปี ค.ศ. 2007 อัตราได้ลดไปที่ 1.2%[37] แต่ว่า จนถึงปี ค.ศ. 2005 การเพิ่มการผลิต มีมากกว่าการเพิ่มจำนวนประชากรคือ จากปี ค.ศ. 2000-2005 ประชากรโลกเพิ่มขึ้นจาก 6,070 ล้านคน ไปเป็น 6,450 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 6.2%[35] แต่ตามบริษัทน้ำมันบีพี มีการเพิ่มการผลิตน้ำมันจาก 8,931 ล้านลิตรต่อวัน ไปเป็น 9,670 ล้านลิตรต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 8.2%[38] หรือตาม EIA เพิ่มจาก 9,272 ล้านลิตรต่อวัน ไปเป็น 10,091 ล้านลิตรต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 8.8%

ใกล้เคียง

จุดผลิตน้ำมันสูงสุด จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก จุดผ่านแดนถาวรระนอง จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก จุดผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน จุดผ่านแดนถาวรเชียงของ จุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย

แหล่งที่มา

WikiPedia: จุดผลิตน้ำมันสูงสุด ftp://eia.doe.gov/pub/oil_gas/natural_gas/feature_... http://www.cis.org.au/media-information/opinion-pi... http://www.energy.gov.ab.ca/OilSands/pdfs/RPT_Chop... http://www.capp.ca/canadaIndustry/oil/Pages/defaul... http://www.macleans.ca/business/economy/article.js... http://www.mjtimes.sk.ca/Canada---World/Business/2... http://knowledge.allianz.com/en/globalissues/safet... http://www.ameinfo.com/90848.html http://www.arabianbusiness.com/index.php?option=co... http://aspo-usa.com/index.php?option=com_content&t...